นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เปิดเผยในงานสัมมนาด้านพลังงานประจำปีระดับประเทศ เรื่องจุดเปลี่ยนพลังงานไทยสู่ความยั่งยืน จัดโดยสมาคมวิทยาการพลังงาน ร่วมกับสถาบันวิทยาการพลังงาน (วพน.) ว่า การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา (โอซีเอ) รัฐบาลได้พูดคุยเรื่องนี้ในช่วงที่สมเด็จมหาบวรธิบดี ฮุน มาแนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เดินทางมาเยือนประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญสูงสุดในเรื่องนี้ โดยระยะต่อไปทั้ง2ประเทศ จะมีการเจรจาเพื่อนำสินทรัพย์นี้ออกมาใช้โดยเร็ว
“ตอนนี้หลายคนให้ความสนใจเรื่องโอซีเอ ซึ่งมีมูลค่ามหาศาล และขึ้นกับว่าตัวเลขไหนที่คนพูดกัน โดยอาจถึง20ล้านล้านบาทก็ได้ แต่ปัจจุบันยังมีปัญหาเรื่องของชายแดน เขตแดนอยู่ และถือเป็นเรื่องที่มีความอ่อนไหวในพื้นที่ทับซ้อน กับขุมทรัพย์ที่อยู่ใต้ทะเล จึงต้องทำด้วยความระมัดระวัง อยากให้ทุกฝ่ายสบายใจว่า รัฐบาลจะเดินหน้าต่อไป โดยจะพยายามแยกแยะระหว่างปัญหาพื้นที่ทับซ้อน เขตแดน และปัญหาเรื่องแบ่งผลประโยชน์ จะต้องทำให้เกิดความชัดเจน และเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ต้องพูดคุยกัน” นายเศรษฐา กล่าว คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปตท. กล่าวว่า การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนในมุม ปตท. อาจจะมีโมเดลที่ให้ศึกษาเป็นตัวอย่างได้ อย่างพื้นที่ไทย-มาเลเซีย เรื่องการแบ่งดินแดนนั้นไม่น่าจะสรุปได้ เพราะเข้าใจเลยว่าการแบ่งพื้นที่แม้แต่ตารางนิ้วเดียวก็ต้องมีปัญหา แต่หากมาหารือกันเรื่องของวัตถุดิบที่อยู่ใต้ดิน ก็น่าจะเป็นเรื่องที่หารือกันได้ไม่ยาก ว่าจะมาแบ่งกันอย่างไร เพราะประเทศไทยมีท่อก๊าซและโครงสร้างพื้นฐานใกล้ ๆ พื้นที่ทับซ้อนอยู่แล้ว การที่จะขุดเจาะและนำขึ้นมาใช้ก็ง่าย และหากจะมีการส่งไปยังกัมพูชาก็สะดวกเช่นเดียวกัน
“โมเดลที่จะนำวัตถุดิบขึ้นมาใช้ และพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มนั้น และให้กัมพูชามาลงทุนกับเราได้ เพื่อแบ่งส่วนแบ่ง 50% ที่จะเป็นของเขาไปก็ได้ ต้องยอมรับว่าโมเดลทางด้านธุรกิจนั้นไม่ยากเลย แต่ทางด้านการเมืองก็ยังน่าเห็นใจ พูดตรง ๆ เลยว่าที่มีปัญหากัมพูชาไม่น่าจะมี มีแต่บ้านเรานี่แหละ ที่มีการพูดเรื่องนี้ตลอด เดี๋ยวก็หาว่าขายชาติบ้าง เราน่าจะต้องลด ๆ ในตรงนี้หน่อยเพื่อให้เกิดข้อสรุปได้ และเราก็จะได้ไม่มีปัญหา” นายอรรถพล กล่าว
นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่าแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือพีดีพี ฉบับใหม่ขณะนี้มีการปรับปรุงเล็กน้อยคาดว่าจะสามารถเปิดรับฟังความคิดเห็น (ประชาพิจารณ์) จากทุกภาคส่วนได้ภายในปลายเดือน ก.พ. นี้ หรือราวต้นเดือน มี.ค.67 โดยแผนดังกล่าวจะวางกรอบทางเลือกไว้7แนวทาง เช่น ราคา ก๊าซ ยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) การเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดทั้งไฟจากแสงอาทิตย์ (โซลาร์) และลม และ1ในนั้น จะมีทางเลือกคือเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่ปัจจุบันเป็นเจน4-5เป็นลักษณะเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบโมดูลาร์ขนาดเล็กหรือเอสเอ็มอาร์ ที่จะนำมารับฟังความเห็น
ส่วนการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา ถือเป็นความหวัง หากรัฐบาลชุดนี้ทำไม่ได้ ก็ไม่ต้องหวังรัฐบาลชุดอื่น หากสำเร็จจะช่วยให้ค่าไฟถูกลงได้ ซึ่งการทำพลังงานสะอาด หากจะให้มั่นคงจะต้องดูว่า อะไรพอทำได้ นำเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนให้การใช้พลังงานหมุนเวียน ทั้งแสงแดดและลม มีความมั่นคงเพิ่มขึ้นด้วย
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)กล่าวว่า ปัจจุบันต้นทุนพลังงานโดยเฉพาะค่าไฟฟ้าของไทยเฉลี่ยอยู่ที่หน่วยละ4.18บาท ขณะที่เวียดนามอยู่ที่หน่วยละ2.67บาท และอินโดนีเซียหน่วยละ2.52บาท ซึ่งทั้ง2ประเทศ เป็นคู่แข่งทางการค้าในอุตสาหกรรมเดียวกัน ทำให้การแข่งขันของไทยลดลง จึงอยากเห็นค่าไฟฟ้าของไทยในระยะต่อไป อยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกับคู่แข่ง จึงสนับสนุนให้ไทยมีการพัฒนาแหล่งก๊าซจากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา เข้ามาเพื่อทำให้ต้นทุนลดลงได้ทันที